การเขียนรายงานเชิงวิชาการ

การเขียนรายงานเชิงวิชาการ
ไดโนเสาร์
ผู้ศึกษา นายวีรชน  สุตานัย
อาจารย์ที่ปรึกษา ครูสมเกียรติ  จันทะคร
ปีการศึกษา 25557
                 เมื่อหลายล้านปีก่อนโลกได้กำเนิดสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นมาบนโลก มี หลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็มีหลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็ซึ่งต่างก็ได้รับสมญานามว่าเป็นนักล่า โดยเฉาะ ทีแร็กซ์ และแร็พเตอร์ นับว่าเป็นนักล่าในยุคจูลลาสสิค และฝ่ายหาอาหารจากพืชก็จะมีสิ่งป้องกันบางอย่างเพื่อเป็นเกราะคุ้มครองของตน เอง เช่นหนามที่แหลมคม พวกนี้จะไม่ทำอันตรายพวกอื่นก่อนถ้าไม่ถูกรบกวนหรือถูกรุกรานก่อน แต่แล้วสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะต้องเผชิญกับหายนะอันใหญ่ หลวงของโลกจากกลุ่มหินอุกกาบาตที่เข้าถล่มโลกอย่างบ้าคลั่ง ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องจบสิ้นลงไปด้วยเพราะไม่อาจทนความร้อนได้ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเขม่าและควันไฟที่โพยพุ่ง โลกเต็มไปด้วยความมืดมิดไม่มีแสงสว่าง และเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปีและโลกเริ่มเย็นขึ้นๆเรื่อยๆ และต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เริ่มเข้ายุคใหม่ที่เริ่มก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตยุดใหม่เข้ามาแทนที่สัตว์ใหญ่ ที่เคยครองโลกอยู่คงเหลือแต่ซากเถ้ากระดูกและฟอสซิลให้เห็นมาจนตราบทุก วันนี้
                     มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบันจากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน
                แม้ว่ายุคสมัยของไดโนเสาร์สิ้นสุดลงเป็นเวลาหลายสิบล้านปีแล้ว แต่ปัจจุบันไดโนเสาร์ยังคงปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมสมัยนิยมและวิถีชีวิตประจำวันของมนุษย์ นิยายหลายเล่มมีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ เช่น เพชรพระอุมา ของ พนมเทียน, เดอะลอสต์เวิลด์ (:en:The Lost World (Arthur Conan Doyle)|The Lost World) ของ เซอร์ อาเทอร์ โคแนน ดอยล์, และ "จูราสสิค พาร์ค" (ซึ่งถ้าสะกดตามหลักการถ่ายคำต้องสะกดเป็น จูแรสซิกพาร์ก) ของ ไมเคิล ไครช์ตัน (Michael Crichton) ไม่เพียงแต่ในหนังสือนิยายเท่านั้น การ์ตูนสำหรับเด็กก็มีการกล่าวถึงไดโนเสาร์ด้วยเช่นกัน เช่นในเรื่องมนุษย์หินฟลินท์สโตน (The Flintstones) โดราเอมอน ตำรวจกาลเวลาและก๊องส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น